top of page

ผลการดำเนินงาน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ประจำปี พ.ศ. 2565-2568

หมวดที่ 4  การจัดการของเสียและมลพิษ

เกณฑ์การประเมิน 1. มีแผนงานและดำเนินการจัดการขยะอย่างเหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse)                                      การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) ตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกขยะและบันทึกปริมาณขยะ

                                มีพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกำจัดและการส่งกำจัดขยะแต่ละประเภท

เกณฑ์การประเมิน 2. แผนงานและดำเนินการจัดการน้ำเสีย โดยเริ่มจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ เพื่อเลือกแนวทางใน                                      การจัดการน้ำเสียอย่างเหมาะสม เช่น การเลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม                                      การติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น มีการดูแลและตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียอย่างต่อเนื่อง รวม                                  ทั้งการลดปริมาณการใช้น้ำ หรือใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

เกณฑ์การประเมิน 3. มีแผนงานและดำเนินการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย

                                สารเคมี ควันบุหรี่ เป็นต้น มีการจัดพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอ และถ่ายเทโดยสะดวก มี                                  การกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการกำหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขต                                      ปลอดบุหรี่ ตลอดจนมีการจัดการเพื่อควบคุมเสียงในห้องสมุด

เกณฑ์การประเมิน 4. มีการดำเนินกิจกรรม 5ส อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจัดพื้นที่บริการและพื้นที่สำนักงานให้สะอาด

                                และเป็นระเบียบเรียบร้อย

เกณฑ์การประเมิน 5. กำหนดให้มีแผนงานและดำเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกัน                                   ปัญหาสิ่งแวดล้อม ระงับเหตุฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย อุทกภัย และวาตภัย เป็นต้น ตามกรอบระยะเวลา

                               ที่เหมาะสม หรือตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งการดูแลอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉินดังกล่าว                                 ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

คำอธิบา

     จําแนกประเด็นปัญหาด้านของเสียและมลพิษ กําหนดมาตรการการจัดการของเสียและมลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคารห้องสมุด ตลอดจน บันทึก ติดตาม ตรวจสอบเพื่อประเมินผล

หัวข้อ
ผลการดำเนินงาน
ไฟล์หลักฐาน
4.1 มีแผนงานและดำเนินการจัดการขยะอย่างเหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) ตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกขยะและบันทึกปริมาณขยะ มีพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกำจัดและการส่งกำจัดขยะแต่ละประเภท
     สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแผนงานจัดการขยะอย่างเหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) (4.1-1) โดยได้ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกขยะแต่ละประเภท (4.1-2) 
ที่หน่วยงานได้จัดหาถังขยะ 4 สี ในการแยกแต่ละประเภทดังนี้
   1. ถังขยะอินทรีย์ (ขยะเปียก) : สีเขียว 
   2. ถังขยะทั่วไป : สีน้ำเงิน
   3. ถังขยะรีไซเคิล : สีเหลือง
   4. ถังขยะอันตราย : สีแดง (4.1-3)
     ทั้งนี้ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการจัดวางถังขยะรวมของทุกชั้น ภายในอาคารทั้ง 2 อาคาร (4.1-4) โดยแยกเป็นขยะอินทรีย์ (ขยะเปียก ซึ่งได้จัดหาถังขยะเฉพาะสำหรับการทิ้งก่อนการคัดแยก) (4.1-5) ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล โดยฝ่ายบริหารฯ ได้มอบหมายให้พ่อบ้าน แม่บ้าน ดำเนินการคัดแยกขยะ (4.1-6) โดยหน่วยงานได้จัดวางถังขยะแยกประเภททั้ง 4 ประเภทไว้ภายนอกอาคาร จำนวน 2 จุด และภายในอาคาร 1 จุด 3 ประเภท (ยกเว้นถังขยะอันตราย : สีแดง) ดังนี้
     ภายนอกอาคาร 2 จุด
        1.1 บริเวณแนวทิวสนข้างอาคารบรรณราชนครินทร์
        1.2 บริเวณชั้น 1 อาคารหอสมุด 5 ชั้น (4.1-7)
     ภายในอาคาร 1 จุด 
     ทางเชื่อมหน้าห้องอบรมราชาวดี ชั้น 5 อาคารหอสมุด 5 ชั้น
     2. ดำเนินการจัดพื้นที่สำหรับการคัดแยกขยะบริเวณภายนอกอาคารทางเชื่อมทั้ง 2 อาคาร พร้อมทั้งภายหลังการคัดแยก พ่อบ้าน แม่บ้าน จะบันทึกปริมาณขยะเป็นรายวัน (4.1-8) สำหรับขยะเปียก ได้ดำเนินการนำแยกส่ง  ณ  โรงอาหารของมหาวิทยาลัย เพื่อนำรวมกับเศษอาหารจากส่วนกลางทั้งหมด โดยมีบุคคลภายในและภายนอก มารับเศษอาหารสำหรับการเลี้ยงสุกร ไก่ ปลา และสุนัข เป็นต้น (4.1-9)
     สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดทำแผนผังเส้นทางการจัดการขยะ (4.1-10) และได้นำขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ โดยมีกิจกรรม ดังนี้
     1. ลดปริมาณขยะ (Reduce) มีการดำเนินการ ได้แก่
        1.1 การใช้กระดาษให้ครบ 2 หน้า
        1.2 การใช้ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ e-Office
        1.3 การใช้ Google Drive ในการจัดทำเอกสารร่วมกัน
        1.4 การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
        1.5 การแชร์เครื่องถ่ายเอกสารเพื่อ Print งานร่วมกัน
        1.6 การใช้ภาชนะบรรจุอาหาร และน้ำดื่มที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ (4.1-11)
     2. การใช้ซ้ำ (Reuse) มีการดำเนินการ ได้แก่   
         2.1 นำกระดาษหน้าเดียวกลับมาใช้ใหม่ 
         2.2 รณรงค์ให้บุคลากรและผู้ใช้บริการนำแก้วน้ำส่วนตัวสำหรับการใช้ซ้ำ เพื่อลดการใช้กรวยกระดาษ แก้วและขวดน้ำพลาสติก
         2.3 รณรงค์ใช้ภาชนะบรรจุอาหารสำหรับการใช้ซ้ำ แทนการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นโฟมและพลาสติก
         2.4 รณรงค์ใช้ถุงผ้าใส่หนังสือ และวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ (4.1-12)
     3. การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มีการดำเนินการ ได้แก่ 
        3.1 การนำขวดน้ำพลาสติกมาประดิษฐ์เป็นแจกันดอกไม้ กระถางต้นไม้ 
        3.2 การนำกระดาษ A4 ที่ใช้แล้ว 2 หน้า มาประดิษฐ์เป็นเปเปอร์มาเช่
         3.3 การนำกระดาษลังมาประดิษฐ์กล่องใส่กระดาษทิชชู (4.1-13) 
     ทั้งนี้ ได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานจัดการขยะอย่างเหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) 
(4.1-14)   
4.1-1 แผนงานจัดการขยะอย่าง
        เหมาะสม ลดปริมาณขยะ                      (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) 
        การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)

4.1-2 ภาพการคัดแยกขยะ
        แต่ละประเภท

4.1-3 ภาพถังขยะ 4 สี
4.1-4 ภาพถังขยะภายในหน่วยงาน
        ทั้ง 2 อาคาร

4.1-5 ภาพถังขยะเปียก
4.1-6 ภาพการคัดแยกขยะ
4.1-7 ภาพถังขยะแยกประเภท
4.1-8 ภาพพื้นที่สำหรับการคัดแยกขยะ
        บริเวณภายนอกอาคารทางเชื่อม          ทั้ง 2 อาคาร 

4.1-9 ภาพถ่ายเศษอาหารภายใน
        โรงอาหารของมหาวิทยาลัย

4.1-10 แผนผังเส้นทางการจัดการขยะ
4.1-11 ภาพกิจกรรมลดปริมาณขยะ                 (Reduce)
4.1-12 ภาพกิจกรรมการใช้ซ้ำ (Reuse)
4.1-13 ภาพกิจกรรมการนำกลับมา
         ใช้ใหม่ (Recycle)

4.1-14 สรุปผลการดำเนินงานตาม
         แผนงานจัดการขยะอย่าง
         เหมาะสม ลดปริมาณขยะ                    (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse)                  การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)




 
4.2 แผนงานและดำเนินการจัดการ
น้ำเสีย โดยเริ่มจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ เพื่อเลือกแนวทางในการจัดการน้ำเสียอย่างเหมาะสม เช่น การเลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น มีการดูแลและตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการลดปริมาณการใช้น้ำ
หรือใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
     สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแผนงานการจัดการ
น้ำเสีย (4.2-1) โดยเริ่มจากการตรวจสอบคุณภาพน้ำด้วยชุดทดสอบออกซิเจนละลายภาคสนามของมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 ตามวิธีการทดสอบน้ำเสีย ซึ่งได้ผลทดสอบมีค่าที่ 0 ppm (มก./ล) หมายถึง ไม่เหมาะกับการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ควรมีการบำบัดน้ำเสียดังกล่าว (4.2-2) และจะตรวจสอบครั้งต่อไปในเดือนเมษายน 2566 (6 เดือน/ครั้ง) เพื่อเลือกแนวทางในการจัดการน้ำเสีย โดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อลดน้ำเสีย ดังนี้
     1. จัดซื้อผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างห้องน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบจากฐานข้อมูลสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ (4.2-3) 
     2. รณรงค์การห้ามนำกระดาษชำระทิ้งลงในชักโครก (4.2-4)
     3. มีถังดักไขมัน ติดตั้ง  ณ  ชั้น 1 ห้องอาหารรวมเพื่อลดการอุดตันไขมันภายในท่อน้ำ และลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ภายในท่อน้ำ โดยพ่อบ้าน แม่บ้าน จะดำเนินการตักไขมันอาทิตย์ละ
1 ครั้ง (4.2-5) 
     สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการลดปริมาณการใช้น้ำ หรือใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
     1. ติดสปริงเกอร์ และฝักบัวสำหรับการลดน้ำต้นไม้ (4.2-6)
     2. ตรวจสอบการรั่วซึมของก๊อกน้ำ (4.2-7)
     3. นำน้ำดื่มที่เหลือจากการบริโภคของบุคลากรและผู้ใช้บริการ นำไปรดน้ำต้นไม้ (4.2-8)
     4. รณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัดให้กับบุคลากรและผู้ใช้บริการ เช่น ป้ายรณรงค์การประหยัดน้ำ 
และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ เป็นต้น (4.2-9)
    ทั้งนี้ ได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานจัดการน้ำเสีย (4.2-10)
4.2-1 แผนงานการจัดการน้ำเสีย
4.2-2 รายละเอียดชุดทดสอบออกซิเจน
          ละลายภาคสนามของ                            มหาวิทยาลัยมหิดล
          และผลการทดสอบ

4.2-3 ทะเบียนคุมวัสดุของสำนักวิทย              บริการฯ และฐานข้อมูลสินค้า                และบริการที่เป็นมิตรกับ
          สิ่งแวดล้อม

4.2-4 ป้ายรณรงค์การห้ามนำ
          กระดาษชำระทิ้งลงในชักโครก

4.2-5 ภาพถังดักไขมัน
4.2-6 สปริงเกอร์ และฝักบัวสำหรับ                การลดน้ำต้นไม้
4.2-7 ตรวจสอบการรั่วซึมของก๊อกน้ำ
4.2-8 ภาพนำน้ำดื่มที่เหลือจากการ                บริโภคของบุคลากรและผู้ใช้                  บริการ นำไปรดน้ำต้นไม้
4.2-9 แนวปฏิบัติการใช้น้ำประปา 
         ลงวันที่ 5 มกราคม 2565/ใบลง           นามรับทราบมาตรการใช้น้ำ                 ประปา/ป้ายรณรงค์การใช้น้ำ               อย่างประหยัด/ข้อความ                       ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ

4.2-10 สรุปแผนงานจัดการน้ำเสีย

 
4.3 มีแผนงานและดำเนินการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง
ไรฝุ่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย สารเคมี ควันบุหรี่ เป็นต้น มีการจัดพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอ และถ่ายเทโดยสะดวก มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมี
การกำหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ ตลอดจนมีการจัดการเพื่อควบคุมเสียงในห้องสมุด
     สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแผนงานจัดการมลพิษทางอากาศ (4.3-1) มีการจัดพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอและถ่ายเทสะดวก เช่น ตั้งเครื่องฟอกอากาศ เปิดหน้าต่างและประตูเพื่อระบายอากาศ และมีการตรวจการทำงานของแม่บ้านอย่างสม่ำเสมอ (4.3-2)
     กำหนดมาตรการและตรวจสอบ
การจัดการมลพิษทางอากาศอย่างสม่ำเสมอ เช่น กำหนดให้มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างน้อยสัปดาห์
ละ 2 ครั้ง (4.3-3) มีการทำความสะอาดพื้นที่ให้บริการทุกวันทำการ (4.3-4) มีการทำกิจกรรม 5ส อย่างสม่ำเสมอ (4.3-5)  และรณรงค์ให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ โดยการติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ และมีการตรวจตราเป็นประจำ (4.3-6) 
     กำหนดพื้นที่เพื่อควบคุมเสียง โดยการติดป้ายงดใช้เสียงบริเวณพื้นที่ชั้น  2-4 อาคารบรรณราชนครินทร์ (4.3-7)
     ทั้งนี้ ได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานการจัดการมลพิษทางอากาศ (4.3-8) 
4.4 มีการดำเนินกิจกรรม 5ส อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจัดพื้นที่บริการและพื้นที่สำนักงานให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย
     สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแผนงานการดำเนินกิจกรรม 5ส (4.4-1) โดยให้บุคลากร
รับผิดชอบพื้นที่ของตนเองด้านความสะอาดทุกวันอย่างต่อเนื่อง (4.4-2) และมีการทำความสะอาดพื้นที่ให้บริการทุกวันทำการ (4.4-3)
4.5 กำหนดให้มีแผนงานและดำเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหา
สิ่งแวดล้อม ระงับเหตุฉุกเฉิน เช่น
อัคคีภัย อุทกภัย และวาตภัย เป็นต้น
ตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม หรือตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งการดูแลอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉินดังกล่าว ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
     สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแผนงานเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน (4.5-1) และได้ดำเนินการให้เป็นไปตามแผน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นดังนี้ 
     ด้านอัคคีภัย

     การอบรมเตรียมความพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน
เรื่อง "การดับเพลิงเบื้องต้น" โดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านอัคคีภัย และการจัดทำแผนภายในหน่วยงาน เพื่อให้บุคลากรได้รับความรู้เกี่ยวกับการดับเพลิงเบื้องต้น ผลการอบรมพบว่า บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจก่อนอบรมคิดเป็นร้อยละ 2.12% และหลังการอบรมบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจคิดเป็นร้อยละ  4.36%
จากบุคลากร เข้าอบรม 25 คน (4.5-2)
     สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ภายในอาคารบรรณราชนครินทร์ จำนวน 12 ถัง และภายในอาคารหอสมุด 5 ชั้น จำนวน 5 ถัง รวมจำนวน 17 ถัง ซึ่งมีการดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์ระบบถังดับเพลิง โดยมหาวิทยาลัย
ได้จัดจ้างบริษัทเพื่อตรวจเช็คอุปกรณ์ระบบถังดับเพลิง ในปี 2565 จำนวน 2 ครั้ง (4.5-3) จากการตรวจเช็คพบว่าถังดับเพลิงอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (4.5-4)
     ทั้งนี้ ได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน (4.5-5)
bottom of page