top of page

ผลการดำเนินงาน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ประจำปี พ.ศ. 2565-2568

หมวดที่ 2 หมวดที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (กรณีเป็นอาคารเก่า)

เกณฑ์การประเมิน 1. มีการศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิม ที่เป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

                                สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศโดยการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร บุคลากรร่วมกันศึกษา                                    และวิเคราะห์ สภาพปัญหาและสภาพอาคารเดิมที่เป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์พลังงานและ

                                สิ่งแวดล้อม

เกณฑ์การประเมิน 2. มีการกำหนดแผนงานปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการ                                         อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

เกณฑ์การประเมิน 3. มีการกำหนดแผนงานการปรับปรุงระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพ

เกณฑ์การประเมิน 4. มีการกาหนดแผนงานการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน

เกณฑ์การประเมิน 5. มีแผนงานและมาตรฐานเรื่องการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว

คำอธิบา

     ห้องสมุดต้องมีโครงสร้างพื้นฐานหรือลักษณะทางกายภาพ ที่เอื้อต่อการลดการใช้พลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการให้บริการและการบริหารจัดการห้องสมุด

หัวข้อ
ผลการดำเนินงาน
ไฟล์หลักฐาน
2.1 มีการศึกษาปัญหาและสภาพ
อาคารเดิม ที่เป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศโดยการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร บุคลากรร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์ สภาพปัญหาและสภาพอาคารเดิมที่เป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์พลังงาน
และสิ่งแวดล้อม

   จากการประชุมบุคลากรเพื่อรับฟังนโยบายของคณะฝ่ายบริหาร
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2564 ทั้งนี้ ผู้บริหารได้มอบหมายให้ฝ่ายอาคารสถานที่ของสำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการสำรวจศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิม (2.1-1) พบว่ามีปัญหาของแต่ละอาคาร ดังนี้

     1. อาคารบรรณราชนครินทร์

         1.1 เป็นอาคาร 7 ชั้น โครงสร้างอาคารส่วนใหญ่ของผนังเป็นกระจก (2.1-2) ส่งผลให้แสงแดดส่องเข้ามาภายในอาคาร เกิดความร้อน กระทบต่ออุณหภูมิภายในอาคารที่สูงขึ้น ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น
จึงส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าภายในอาคารมากขึ้น

         1.2 สภาพพื้นอาคารเก่า และชำรุด เป็นแหล่งสะสมของฝุ่นละออง (2.1-3)

         1.3 เครื่องปรับอากาศเป็นแบบชิลเลอร์ (ท่อรวม) มีอายุการใช้งานมากกว่า 15 ปี (2.1-4)
         1.4 ฝ้าเพดานทุกชั้น มีน้ำฝนรั่วซึมเข้ามาภายในอาคาร ส่งผลให้ฝ้าเพดานชำรุด (2.1-5)

     2. อาคารหอสมุด 5 ชั้น

        2.1 เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (แบบแขวน) มีอายุการใช้งานนานมากกว่า 15 ปี

(2.1-6)

        2.2 ฝ้าเพดานทุกชั้น มีน้ำฝนรั่วซึมเข้ามาภายในอาคาร ส่งผลให้ฝ้าเพดานชำรุด (2.1-7)   

2.2 มีการกำหนดแผนงานปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม

    สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีแผนงานปรับปรุงโครงสร้างภายในทั้ง 2 อาคาร

ให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงาน

และสิ่งแวดล้อม (2.2-1) ดังต่อไปนี้

    1. ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานภายในทั้ง 2 อาคาร ได้แก่ พื้น ฝ้าเพดาน ระบบกันซึมชั้นดาดฟ้า (2.2-2)

     2. ติดม่านผนังกระจกบังแสงแดดเข้าภายในอาคารเพื่อลดความร้อน (2.2-3)

     3. ทำความสะอาดผนังกระจกอาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 1 – 7 และชั้นดาดฟ้า สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (2.2-4)

    ทั้งนี้ ได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานปรับปรุงโครงสร้างภายในทั้ง 2 อาคาร (2.2-5)

2.3 มีการกำหนดแผนงานการปรับปรุงระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพ

    สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแผนงานการปรับปรุงระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพ (2.3-1) ดังนี้

    1. จัดซื้อจัดจ้างเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนชนิดแขวน จำนวน 3 รายการ (2.3-2)

    2. จัดซื้อจัดจ้างเครื่องปรับอากาศชนิดปรับเปลี่ยนปริมาณสารทำความเย็น VRF (2.3-3)

     ทั้งนี้ ได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานปรับปรุงระบบปรับอากาศ (2.3-4)

     หมายเหตุ เนื่องจากกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องปรับอากาศชนิดปรับเปลี่ยนปริมาณสารทำความเย็น VRF รับผิดชอบโดยงานอาคารของมหาวิทยาลัย ยังไม่แล้วเสร็จในปี 2565 เนื่องจากมีขั้นตอนหลายอย่าง จึงเลื่อนการจัดซื้อมาเป็นภายในปีงบประมาณ 2566

2.4 มีการกำหนดแผนงานการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน

    สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มีแผนงานการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน (2.4-1)

โดยดำเนินการปรับปรุงระบบไฟฟ้าจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ มาเป็นหลอดไฟฟ้าแบบ LED (2.4-2)

     ทั้งนี้ ได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน (2.4-3)

2.5 มีแผนงานและมาตรฐานเรื่อง
การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแผนงานการและมาตรฐานเรื่องการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว (2.5-1) โดยปรับปรุง

ภูมิทัศน์ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวรอบนอกอาคารบรรณราชนครินทร์

จำนวน 3 จุด  (2.5-2) ดังนี้

     1. จุดที่1 บริเวณทางเดินใต้ต้นหูกระจงแนวต้นสน ขนาด 92 ตรม.
    2. จุดที่2 บริเวณมุมอาคารบรรณราชนครินทร์ใต้ต้นแคนา

ขนาด 20.16 ตรม.
    3. จุดที่3 บริเวณน้าตกหน้าอาคารบรรณราชนครินทร์ ขนาด 5.8 ตรม.
(2.5-3)
ทั้งนี้ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เดิมมีพื้นที่สีเขียวทั้งสิ้น 306.20 ตรม. (2.5-4) และในปี 2565 ได้เพิ่มพื้นที่สีเขียวจำนวน 117.96 ตรม. ปัจจุบันรวมมีพื้นที่สีเขียวทั้งสิ้น 424.16 ตรม. และได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานและมาตรฐาน

เรื่องการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว (2.5-5) โดยการปลูกพืชที่ช่วยซับก๊าซเรือนกระจก ใช้น้ำน้อย และให้ความร่มรื่น สวยงาม (2.5-6)
2.5-5 สรุปผลการดาเนินงานตามแผนงานและมาตรฐานเรื่องการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว
2.5-6 คุณลักษณะต้นไม้ที่นำมาปลูกแต่ละประเภท

2.5-1 แผนงานและมาตรฐาน เรื่อง                การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว

2.5-2 บันทึกข้อความขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม

2.5-3 ภาพพื้นที่สีเขียว จุดที่ 1-3

2.5-4 ภาพพื้นที่สีเขียวเดิม

2.5-1 แผนงานและมาตรฐานเรื่องการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว

2.5-2 บันทึกข้อความขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม

2.5-3 ภาพพื้นที่สีเขียว จุดที่ 1-3

2.5-4 ภาพพื้นที่สีเขียวเดิม

2.5-5 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานและมาตรฐานเรื่องการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว

2.5-6 คุณลักษณะต้นไม้ที่นำมาปลูกแต่ละประเภท

bottom of page