top of page

ผลการดำเนินงาน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ประจำปี พ.ศ. 2565-2568

หมวดที่ 8  การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว

เกณฑ์การประเมิน 1. มีการประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม เช่น Energy Utilization Index (EUI)

เกณฑ์การประเมิน 2. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะ เช่น ปริมาณขยะลดลง และร้อยละของปริมาณขยะ

                                 ที่นำมา Reuse, Recycle เพิ่มขึ้น

เกณฑ์การประเมิน 3. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสีย

เกณฑ์การประเมิน 4. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ 

เกณฑ์การประเมิน 5. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก 

เกณฑ์การประเมิน 6. มีการประเมินผลสัมฤทธิ์การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 

no8.png

คำอธิบา

     กำหนดตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยการติดตาม ประเมินผลเป็นประจำทุกปี

หัวข้อ
ผลการดำเนินงาน
ไฟล์หลักฐาน
8.1 มีการประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม เช่น Energy Utilization Index (EUI)
     สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีอาคารสำหรับการให้บริการ จำนวน 2 อาคาร ได้แก่ อาคารบรรณราชนครินทร์ 7 ชั้น และอาคารหอสมุด 5 ชั้น โดยได้ดำเนินการประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม ในปี 2565 พบว่าสำนักวิทยบริการฯ มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริง จำนวน 233,800 kWh/ปี โดยมีค่าดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า หรือ Energy Utilization Index (EUI) เท่ากับ -0.24 (8.1-1) 
(น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน) ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานปกติ คือ EUI >/= 0) 
     จากผลประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า สำนักวิทยบริการฯ มีแผนงานการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ปี 2566 ดังนี้
     1. ปรับเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศแบบชิลเลอร์ เป็น VRF
     2. การจัดตั้งแผงโซลาเซลล์
     3. ปรับเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ เป็นหลอด LED (8.1-2)
8.2 มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะ เช่น ปริมาณขยะลดลง
และร้อยละของปริมาณขยะที่นำมา Reuse, Recycle เพิ่มขึ้น
     สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะ โดยได้บันทึกสถิติปริมาณขยะ ประจำปี 2565 ตามเกณฑ์การดำเนินงาน สรุปดังนี้
     1. ขยะส่งกำจัด จำนวน 204.30 กิโลกรัม
     2. ขยะส่งจำหน่าย จำนวน 957.10 กิโลกรัม
     3. ขยะนำกลับมาใช้ใหม่ จำนวน 86.30 กิโลกรัม
(8.2-1) 
     ทั้งนี้ สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินกิจกรรมตามแผนงานจัดการขยะอย่างเหมาะสม ปี 2565 เพื่อใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบสถิติในปี 2566 ในการลดปริมาณขยะต่อไป
8.3 มีการประเมินประสิทธิภาพ
การจัดการน้ำเสีย
     สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสีย โดยเริ่มจากการตรวจสอบคุณภาพน้ำด้วยชุดทดสอบออกซิเจนละลายภาคสนามของมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 ตามวิธีการทดสอบน้ำเสีย ซึ่งได้ผลทดสอบมีค่าที่ 0 ppm (มก./ล) หมายถึง ไม่เหมาะกับการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ควรมีการบำบัดน้ำเสียดังกล่าว (8.3-1) และจะตรวจสอบครั้งต่อไปในเดือนเมษายน 2566 (6 เดือน/ครั้ง) เพื่อเลือกแนวทางในการจัดการน้ำเสีย โดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อลดน้ำเสีย ดังนี้
     1. จัดซื้อผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างห้องน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบจากฐานข้อมูลสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ (8.3-2) 
     2. รณรงค์การห้ามนำกระดาษชำระทิ้งลงในชักโครก (8.3-3)
     3. มีถังดักไขมัน ติดตั้ง  ณ  ชั้น 1 ห้องอาหารรวมเพื่อลดการอุดตันไขมันภายในท่อน้ำ และลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ภายในท่อน้ำ โดยพ่อบ้าน แม่บ้าน จะดำเนินการตักไขมัน
อาทิตย์ละ 1 ครั้ง (8.3-4)
8.4 มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ
เช่น ไม่มีเรื่องร้องเรียนจากผู้รับบริการเกี่ยวกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคาร จำนวนครั้ง
ของการล้างระบบปรับอากาศต่อปี เป็นต้น
     สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ โดยกำหนดมาตรการและตรวจสอบการจัดการมลพิษทางอากาศอย่างสม่ำเสมอ เช่น กำหนดให้มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างน้อย
สัปดาห์ละ 2 ครั้ง (8.4-1)
มีการทำความสะอาดพื้นที่ให้บริการ
ทุกวันทำการ (8.4-2) มีการทำกิจกรรม 5ส อย่างสม่ำเสมอ (8.4-3) และรณรงค์ให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ โดยการติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ และมีการตรวจตราเป็นประจำ (8.4-4) 
     สำหรับระบบเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน มีการตรวจเช็คสภาพเครื่องปรับอากาศ กำหนดให้มีการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ ไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง (8.4-5)
8.5 มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก
เช่น ร้อยละของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ค่าคาร์บอนฟุตพริ้น
องค์กรต่อจำนวนผู้มารับบริการ เป็นต้น
     สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยจัดทำรายงานสรุปผลการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (8.5-1) พบว่าภายในปี 2565 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำนวน 127.41 tCO2e จากสถิติดังกล่าว สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีแผนและมาตรการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและกิจกรรมชดเชยคาร์บอน (8.5-2) ได้แก่ การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งเดิมหน่วยงานมีพื้นที่สีเขียวทั้งสิ้น 306.20 ตรม. และปี 2565 ได้เพิ่มพื้นที่สีเขียว จำนวน 117.96 ตรม. รวมพื้นที่สีเขียวของหน่วยงานทั้งสิ้น 424.16 ตรม. (8.5-3) ตลอดจนมีแนวทางการจัดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ขนาด 30 kW  ณ  ดาดฟ้าอาคารหอสมุด 5 ชั้น ภายในปี 2566 (8.5-4)
8.6 มีการประเมินผลสัมฤทธิ์การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
เช่น ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรม
ที่ผ่านการทดสอบความรู้ หรือ ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านการทดสอบความรู้ เป็นต้น
     สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการประเมินผลสัมฤทธิ์การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยได้จัดกิจกรรมให้ความรู้ สำหรับบุคลากร
และผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ ได้มีการทดสอบก่อนและหลังการอบรมเพื่อทดสอบความรู้ ตามกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
     กิจกรรมอบรมสำหรับบุคลากร
    1. กิจกรรมการอบรมการป้องกันอัคคีภัย เพื่อให้บุคลากรมีองค์ความรู้ด้านการป้องกัน อพยพ การใช้อุปกรณ์ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการป้องกันอัคคีภัยภายในหน่วยงาน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 คน จากการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการจัดกิจกรรมด้วยแบบประเมินความพึงพอใจของบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ก่อนการอบรม บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยอยู่ในระดับน้อย (x̅ = 2.12, SD. = 0.33) และภายหลังการอบรมบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอัคคีภัยและการป้องกันอัคคีภัยเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.36, SD. = 0.57) โดยบุคลากรได้เข้ารับการอบรมและมีผลคะแนนผ่านการทดสอบด้านอัคคีภัยทุกคน (ร้อยละ 100) (8.6-1)
      2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 (ความรู้เบื้องต้น) เพื่อให้บุคลากรมีองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (ความรู้เบื้องต้น) โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 26 คน จากการทดสอบความรู้คามเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ก่อนและหลังการอบรมโดยใช้แบบทดสอบจำนวน 10 ข้อ (คะแนนเต็ม 10) พบว่า ก่อนการอบรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้คะแนนเฉลี่ยที่ 6.62 (x̅ = 6.62, SD. = 0.75) และภายหลังการอบรมได้คะแนนคะแนนเฉลี่ยที่ 8.92 (x̅ = 8.92, SD. = 0.74) โดยบุคลากรได้เข้ารับการอบรมและมีผลคะแนนผ่านการทดสอบทุกคน
(ร้อยละ 100) (8.6-2)
       3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2 (ภาพรวมระดับโลก) เพื่อให้บุคลากรมีองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (ภาพรวมระดับโลก) โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 26 คน จากการทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมก่อนและหลังการอบรมในครั้งที่ 2 โดยใช้แบบทดสอบจำนวน 10 ข้อ (คะแนนเต็ม 10) พบว่า ก่อนการอบรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้คะแนนเฉลี่ยที่ 6.12 (x̅ = 6.12, SD. = 0.99) และภายหลังการอบรมได้ผลคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 8.77 (x̅ = 8.77, SD. = 0.71) โดยบุคลากรได้เข้ารับการอบรมและมีผลคะแนนผ่านการทดสอบทุกคน (ร้อยละ 100) (8.6-3)
    กิจกรรมสำหรับผู้ใช้บริการ
      1. กิจกรรมให้ยืมถุงผ้าใส่หนังสือกลับบ้าน เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.52)
(8.6-4)
      2. กิจกรรมการประกวดกระทงรักษ์โลก ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด
(x̅ = 4.72) (8.6-5)
      3. กิจกรรมประดิษฐ์ของจากวัสดุเหลือใช้ (เปเปอร์มาเช่) (8.6-6)
     4. กิจกรรมบริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (8.6-7)
8.6-1 รายงานผลการดำเนินงาน
         โครงการป้องกันอัคคีภัย

8.6-2 รายงานผลการดำเนินงาน
         โครงการอบรมให้ความรู้ด้าน
         การอนุรักษ์พลังงานและ
         สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1
         (ความรู้เบื้องต้น)

8.6-3 รายงานผลการดำเนินงาน
         โครงการอบรมให้ความรู้ด้าน
         การอนุรักษ์พลังงานและ
         สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2
         (ภาพรวมระดับโลก)

8.6-4 ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วม
         กิจกรรมให้ยืมถุงผ้าใส่หนังสือ
         กลับบ้าน 

8.6-5 ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วม
        กิจกรรมการประกวดกระทง
        รักษ์โลก

8.6-6 สรุปแบบประเมินกิจกรรม
        ประดิษฐ์ของจากวัสดุเหลือใช้
        (เปเปอร์มาเช่)

8.6-7 ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วม
        กิจกรรมบริการสืบค้นทรัพยากร
        สารสนเทศด้านการอนุรักษ์
        พลังงานและสิ่งแวดล้อม

 
bottom of page