GreenLibrary Wisdom of life
บทสรุปผู้บริหาร
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียวประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนามหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2565
โดยแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียวประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ฉบับนี้ได้มุ่งเน้นการพัฒนางานในด้านต่าง ๆ เพื่อนำพาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมสู่ความเป็นเลิศ ในการจัดทำแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียวประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ฉบับนี้มหาวิทยาลัยคำนึงถึงประเด็นความท้าทายในด้านต่าง ๆ ความคาดหวังที่สังคมมีต่อมหาวิทยาลัย แนวนโยบายแห่งรัฐ แผนบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล แนวนโยบายต่าง ๆ ที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดตามกรอบแผนพัฒนาระยะยาวของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2565 – 2568
เป้าหมาย นโยบาย และแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยและได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาคมในทุกระดับอย่างทั่วถึงและกว้างขวาง เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อให้เป็นแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียวของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างแท้จริง
ในการนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นสำคัญ เพื่อนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ 3 ประเด็น ได้แก่
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่การเป็นห้องสมุดสีเขียวอย่างยั่งยืน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมให้บุคลากรและผู้ใช้บริการ มีความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความเป็นรูปธรรม นำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างชัดเจน ภายใต้กลยุทธ์แต่ละด้าน ยังได้กำหนดเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่ต้องการบรรลุในแต่ละปี โดยภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ ทั้ง 3 ประเด็น มีตัวชี้วัดทั้งหมด 15 ตัวชี้วัด และมีโครงการกิจกรรมที่มุ่งจัดให้มีขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุตัวชี้วัดทั้ง 15 ตัวชี้วัด พร้อมกรอบวงเงินงบประมาณ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความพร้อมด้านทรัพยากร เพื่อขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ และเพื่อให้ประเด็นยุทธศาสตร์ทั้งหมดมีการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง จึงได้กำหนดแนวทางต่าง ๆ ในการสื่อสาร ถ่ายทอดประเด็นยุทธศาสตร์ ถ่ายทอดตัวชี้วัด สู่ส่วนงานต่าง ๆ ในหลายช่องทาง รวมทั้งการมีระบบในการกำกับติดตามเป็นระยะ ๆ การประเมินผลและเป็นการทบทวนปรับปรุงยุทธศาสตร์อีกด้วย